ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารสายยาง: ทำไมต้องให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ  (อ่าน 28 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
อาหารสายยาง: ทำไมต้องให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ

การให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองมีด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารทางสายยางที่มักจะพบเห็นได้ทั่วไป แต่สารอาหารที่นำไปให้ผู้ป่วยนั้น เป็นอาหารประเภทปั่นผสม หรืออาหารเหลวปั่นที่มีความละเอียด มีลักษณะเป็นของเหลวที่สามารถเคลื่อนผ่านสายยางให้อาหารได้โดยไม่ติดขัด แต่การให้อาหารทางสายยางนั้นในส่วนของอาหารจะต้องมีการควบคุมโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของอาหารสำหรับผู้ป่วย จะต้องมีการออกแบบสูตรอาหารที่เหมาะสมทั้งในเรื่องของปริมาณและสารอาหารที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับในแต่ละวัน ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมไปถึงอาจจะมีการให้ยาผ่านทางสายยางให้อาหาร แต่ก็ต้องคำนึงถึงสรรพคุณของยา

แต่การที่ให้ยาแก่ผู้ป่วยทางสายยางให้อาหาร จะต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลเพราะตัวยาบางชนิดไม่สามารถทำให้ละเอียดและให้ทางสายยางให้อาหารได้ จึงต้องให้ด้วยวิธีการอื่น ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เจ้าของไข้ก่อน นอกจากการให้อาหารทางสายยางแล้ว ยังมีวิธีการให้อาหารทางเส้นเลือดของผู้ป่วย ในกรณีที่ระบบต่าง ๆภายในร่างกายของผู้ป่วยเกิดความล้มเหลว หรือระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ แต่ร่างกายของผู้ป่วยยังต้องการสารอาหารเพื่อไปหล่อเลี้ยงร่างกายในส่วนอื่น ๆ

 สำหรับการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ให้การอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังโดยใช้เข็มหรือใช้สายสวนสอดเขาใต้ผิวหนัง พยายามให้ปลายสายสอดไปอยู่ในหลอดเลือดดำใหญ่ให้บริเวณใกล้ๆกับขั้วหัวใจเป็นวิธีที่แพทย์ในปัจจุบันใช้อยู่ เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ควรรับอาหารทางปากหรือทางกระเพาะลำไส้เลย ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามีการอุดตันเกิดขึ้นในทางเดินอาหาร หรือเป็นเพราะว่าผลข้างเคียงจากการผ่าตัด หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร แพทย์จึงให้งดอาหารทางปากเป็นการชั่วคราวระยะเวลาหนึ่ง

ดังนั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องงดอาหารหรือไม่ได้รับสารอาหาร ก็ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อาหาทางหลอดเลือดแทน ซึ่งสารอาหารี่จำเป็นต่อร่างกายก็ได้แก่อาหารหลัก 5 หมู่ ที่ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่และวิตามิน ซึ่งในแง่ของการให้อาหารทางหลอดเลือดดำนั้น สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ก็คือ น้ำตาลเดกโตส โปรตีนคือกรดอะมิโน ไขมันคือ ไขมันอิมัลชัน เกลือแร่ วิตามิน และอิเล็คโทรไลต์ ซึ่งทั้งหมดนี้คือสารอาหารที่ผู้ป่วยที่ต้องให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำจะได้รับ เพื่อให้ร่างกายได้รัยสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ก็คือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองและต้องมีระบบทางเดินอาหารที่ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงาน หรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการพักระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีภาวะทุโภชนาการอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับสารอาหารเพียงพอได้เมื่อใช้วิธีการให้อาหารทางปาก ผู้ป่วยที่มีตับอ่อนอักเสบอย่างรุนแรง หรือมีการตัดต่อลำไส้ ผู้ป่วยที่มีระบบทางเดินอาหารทะลุ ซึ่งต้องมีการให้สารอาหารแก่ผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ถึงแม้ว่าการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ จะเป็นการรักษาทางการแพทย์อีกวิธีหนึ่ง แต่ก็ระมัดระวังเพราะการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ก็มีความเสี่ยงและข้อห้ามในการให้อาหารเช่นเดียวกัน ไม่ว่าเป็น ผู้ป่วยที่ต้องการสารอาหารและมีความผิดปกติของทางเดินอาหาร ซึ่งทุกขั้นตอนในการให้อาหารทางหลอดเลือดดำจะต้องระมัดระวังให้มาก เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

เพราะฉะนั้น การให้อาหารทางหลอดเลือดดำ จำเป็นต้องมีผู้ดูแลหรือกระทำโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ได้รับอันตรายและเป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆที่จะตามมาด้วย ทางเราอยากให้ทุกคนได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพื่อที่จะได้มีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทางเรามีบริการอาหารทางสายยาง เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการสารอาหารในลักษณะนี้ ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและมีคุณภาพ โดยอาหารของเราผลิตโดยนักโภชนาการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ผลิตจากห้องปลอดเชื้อที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า อาหารปั่นผสมจะมีคุณฯภาพและถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างปลอดภัย