ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักโรคความดันโลหิต ก่อนเกิดอาการสูง-ต่ำ  (อ่าน 50 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 294
    • ดูรายละเอียด
รู้จักโรคความดันโลหิต ก่อนเกิดอาการสูง-ต่ำ
« เมื่อ: วันที่ 20 สิงหาคม 2024, 21:01:22 น. »
รู้จักโรคความดันโลหิต ก่อนเกิดอาการสูง-ต่ำ

ปัญหาสุขภาพที่คน ๆ หนึ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นได้มีหลายโรคเนื่องจากปัจจัยรอบตัวที่เต็มไปด้วยมลพิษและเชื้อโรคที่มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบหายใจหรือโรคติดเชื้อ แต่หลายคนอาจลืมไปแล้วว่าหนึ่งในโรคที่ทุกคนควรระวังและมีโอกาสเป็นทุกยุคทุกสมัยโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับมลภาวะรอบตัวนั่นคือ “โรคความดันโลหิต” ที่มีทั้งความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ และด้วยความเสี่ยงที่สามารถเป็นได้ทุกช่วงวัยเราจึงควรศึกษาข้อมูลของโรคนี้ก่อนจะสายเกินไป

 
ความดันโลหิตคืออะไร

ความดันโลหิตเป็นค่าความดันของกระแสเลือดที่ส่งแรงกระทบกับผนังหลอดเลือดแดง โดยเกิดขึ้นจากการกระบวนการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยสามารถวัดความดันโลหิตได้ 2 ค่า คือ ค่าความดันช่วงบนจากการบีบตัวของหัวใจ และค่าความดันช่วงล่างจากการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากค่าความดันโลหิตคือความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ โดยเราสามารถตรวจหาอาการดังกล่าวได้ด้วยการวัดค่าความดันโลหิต

 
การเตรียมตัวเพื่อวัดความดันโลหิต

    ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ กาแฟ ไม่ผ่านการออกกำลังกาย และไม่มีภาวะทางอารมณ์ เช่น โมโห โกรธ เครียด เป็นต้น
     
    พักก่อนทำการตรวจวัดความดันเป็นเวลา 5-15 นาที
     
    ควรปัสสาวะก่อนทำการวัดความดัน
     
    ไม่ควรพูดคุยมากเกินไปในขณะที่ทำการวัดความดัน


 
ความดันโลหิตต่ำ

เป็นภาวะที่ความดันเลือดซิสโตลิกต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ทั้งหญิงชาย ไม่ว่าอายุเท่าใดก็สามารถเป็นได้ ส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน วิตามินซีทำให้ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง จนเกิดการคลายตัวมากเกินไป โดยภาวะนี้จะมีทั้งที่สามารถหายเองได้กับต้องได้รับการรักษา

 
อาการของความดันโลหิตต่ำ

ปกติแล้วความดันโลหิตต่ำจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากอยู่ในภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นชั่วคราว ดังนี้

    เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมกะทันหัน
    ใจเต้นแรง ใจสั่น
    ตาพร่าเบลอ
    คลื่นไส้
    เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
    กระหายน้ำ

นอกจากนี้ยังมีอาการหน้ามืดเมื่อมีการเปลี่ยนท่านั่ง หรือท่ายืนกะทันหัน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการป้องกันได้ด้วยการยกศีรษะสูงขณะนอน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดอาการแย่ลง เช่น การนอนนาน ๆ การลุก หรือนั่งอย่างรวดเร็ว การอาบน้ำอุ่นจัด เป็นต้น

 
การดูแลร่างกายเมื่อความดันโลหิตต่ำ

    หากมีอาการควรนั่งพัก หรือนอนลงทันทีโดยพยายามยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง
     
    หลีกเลี่ยงการยืน หรือนั่งนาน ๆ
     
    หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในเวลากลางคืน และพยายามลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
     
    เคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้เพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการไขว้ขา หรือบิดตัว เป็นต้น
     
    พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนดึก เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตต่ำลง

 
ความดันโลหิตสูงคืออะไร

โดยปกติแล้วหากวัดค่าความดันโลหิตคนปกติจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งวัดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ (ความดันช่วงบนและช่วงล่าง) แต่หากวัดแล้วได้ค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปถือว่ามีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง โดยหากต้องการความแน่นอนมากขึ้นควรวัดเพิ่มอีกหลังได้ค่าความดันโลหิตสูงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง อีกประมาณ 2 หรือ 3 สัปดาห์ นอกจากนี้ค่าความดันที่สูงอาจไม่ได้หมายถึงการเป็นความดันโลหิตสูงเสมอไปเพราะสามารถเกิดได้จากปัจจัยอื่น ๆ เช่น มีภาวะทางอารมณ์ การออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีคาเฟอีน เป็นต้น โดยผู้ป่วยที่เพิ่งเคยเป็นจะมีอาการเวียนศีรษะ ตึงต้นคอ ซึ่งส่วนมากจะเป็นในช่วงตื่นนอน แต่สำหรับคนที่เป็นความดันโลหิตสูงมาเป็นเวลานานจะมีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว หรืออาจมีเลือดกำเดาไหลร่วมด้วย

 
สาเหตุของการเกิดความดันโลหิตสูง

โดยปกติผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูงมักจะตรวจไม่พบสาเหตุ แต่หากมีการตรวจพบมักมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะอื่น ๆ เช่น โรคไต หลอดเลือดแดงตีบ หลอดเลือดไตตีบ เกิดเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดจากพฤติกรรมหรือสาเหตุเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย การเป็นโรค เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และพันธุกรรม เป็นต้น


 
เป็นความดันโลหิตสูงแล้วต้องทำอย่างไร


    บริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีผลดีต่อความดันโลหิต คือทานผักผลไม้ ธัญพืช และลดทานเนื้อสัตว์ น้ำตาล ของหวาน และอาหารที่มีรสเค็ม
     
    งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
     
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
     
    ดูแลสุขภาพจิตของตนเองไม่ให้เครียดมากจนเกินไป

 

การป้องกันและดูแลตนเองเมื่อเกิดความดันโลหิตสูง

 
    หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
     
    ยาที่ผู้ป่วยรับประทานอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้
     
    ควบคุม และจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์
     
    หลีกเลี่ยงอาหารประเภทของหมัก ของดอง เช่น กุ้งแห้ง ผักกาดดอง ปลาหมึกแห้ง ปลาร้า หอยดอง เพราะอาหารเหล่านี้มักจะมีปริมาณของโซเดียมเยอะ
     
    ดูแล และรักษาสุขภาพจิตให้เป็นปกติ พยายามผ่อนคลาย ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี หมั่นบริหารสุขภาพจิตอยู่เสมอ เช่น การนั่งสมาธิ การเล่นโยคะ ร้องเพลง หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ได้
     
    รับประทานยาตามแพทย์สั่ง


ความดันโลหิตเป็นภาวะที่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย และสามารถหายเองได้ แต่หากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้