สถานประกอบการที่ไม่ตรวจวัดระดับเสียงดังในโรงงานพึงระวัง เพราะนอกจากจะมีความผิดทางกฎหมายแล้ว หากปล่อยให้โรงงานก่อเสียงดังเกินมาตรฐาน ยังเสี่ยงทำให้คนงานได้รับอันตราย และเสี่ยงทำให้การทำงานถูกลดทอนคุณภาพลงด้วย
การตรวจวัดระดับเสียงดังในสถานประกอบการ
ปฏิเสธไม่ได้เลย เสียงดังจากโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในละแวกใกล้เคียงค่อนข้างมาก ตามที่เป็นปัญหาร้องเรียนให้เราเห็นกันตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ทั้งนี้ อีกหนึ่งคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ "ลูกจ้าง" ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กำเนิดเสียง ซึ่งอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นสูญเสียการได้ยินได้ หากทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับเสียงดังมากเกินไปแบบต่อเนื่อง
จึงทำให้มีกฎหมายกำหนดให้สถานประกอบการต่างๆ ต้องมีการตรวจวัดระดับเสียงดังภายในสถานประกอบการ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับลูกจ้าง และเป็นการรักษาความสงบให้สังคมด้วยไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ หากสถานประกอบการใดฝ่าฝืน ไม่ตรวจวัดระดับเสียงดัง หรือไม่มีการควบคุมเสียงให้เหมาะสมก็จะถือเป็นความผิดและได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย
สถานประกอบการใดบ้างที่ต้องได้รับการตรวจวัดระดับเสียงดัง
ตามมาตรฐานทั่วไป องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า ระดับเสียงดังตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไปนั้น ถือว่าเป็นเสียงที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ได้แล้ว แต่ทั้งนี้ในทางกฎหมายจะมีข้อกำหนดที่ละเอียดกว่านั้น โดยจะมีข้อกำหนดหลายข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือจะพิจารณาจากค่าเฉลี่ยระดับเสียงดังที่ยอมให้ลูกจ้างได้ยินตลอดเวลาในการปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล ทั้งนี้ ตัวอย่างสถานประกอบการที่ต้องดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงดัง ได้แก่ โรงงานระเบิดหิน โรงงานโม่หิน โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานผลิตเครื่องเรือนเครื่องใช้จากไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ ในประเภทธุรกิจอื่นๆ หากในสถานประกอบการมีกิจกรรมหรือเครื่องจักรที่ก่อให้เกินเสียงดังเฉลี่ยเกิน 90 เดซิเบล และมีคนงานต้องทำงานในบริเวณนั้น ติดต่อกัน 8 ชั่วโมงต่อวัน ก็เข้าข่ายที่จะต้องได้รับการตรวจวัดระดับเสียงดังด้วย
รูปแบบการตรวจวัดระดับเสียงดังในสถานประกอบการ
โดยมาตรฐานแล้ว รูปแบบของการตรวจวัดระดับเสียงดังในสถานประกอบ จะมีการตรวจวัดทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การตรวจวัด ณ แหล่งกำเนิดเสียง
เป็นการตรวจวัดแบบเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบดูว่า พื้นที่แหล่งกำหนดเสียงมีระดับความดังของเสียงเท่าไหร่ และดังมากจนเป็นอันตรายต่อลูกจ้าง หรือเกินกำหนดที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งหากตรวจประเมินแล้วพบว่า ณ พื้นที่แหล่งกำเนิดเสียงมีระดับพลังงานเสียงที่ดังเกินไป ก็จำเป็นจะต้องทำการควบคุมเพื่อให้ระดับเสียงลดลงมาอยู่ในระดับมาตรฐานที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนทำงานในพื้นที่
2. การตรวจวัดเสียงแบบพื้นที่
เป็นลักษณะการตรวจเพื่อจัดทำแผนที่เสียงในสถานประกอบการ โดยจะทำการวัดระดับความดังของเสียงเป็นพื้นที่ย่อยๆ ทั่วทั้งสถานประกอบการ แล้วนำผลที่ได้มาจัดแบ่งพื้นที่ทำงานเป็นโซนต่างๆ ตามความดังของเสียงที่วัดใด และกำหนดระยะเวลาในการทำงานที่ต้องสัมผัสกับเสียงได้อย่างเหมาะสม อธิบายง่ายๆ ก็คือ เป็นการวัด เพื่อให้รู้ว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ใช้เสียงดัง ก็จัดให้อยู่ห่างจากพื้นที่โซนอื่นๆ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของส่วนอื่นๆ ส่วนในพื้นที่เสียงดัง ก็ออกแบบการควบคุมเสียงตามเหมาะสม เพื่อให้คนทำงานในพื้นที่ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด
ฉนวนกันเสียง:สำคัญมากแค่ไหน กับการตรวจวัดระดับเสียงดังในสถานประกอบการ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/